เชียงใหม่ในความทรงจำ บันทึกของ เอมิลี แมคกิลวารี ตอนแรก

06 กันยายน 2018, 11:05:55



RECOLLECTIONS OF CHEUNG MAI


เชียงใหม่ในความทรงจำ

บันทึกของ เอมิลี แมคกิลวารี ( Emilie McGilvary ) บุตรสาว ศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี

**********************
เพื่อนๆ มักขอร้องฉันเสมอว่า

“ช่วยเล่าเรื่องเมืองเชียงใหม่สมัยที่คุณไปอยู่เมื่อยังสาวให้ฟังหน่อยสิ”

ได้ยินดังนั้น สิ่งแรกที่หวนนึกถึงเมืองเชียงใหม่ก็คือชาวเชียงใหม่และวัฒนธรรมของพวกเขานั่นเอง

เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองลาวทั้งหก ขึ้นต่อสยาม เวลานั้นยังไม่มีการสำรวจสำมะโนประชากร จึงระบุไม่ได้ว่า มีจำนวนประชากรเท่าไหร่ แต่มิชชันนารีหลายท่านสันนิษฐานว่าคงมีประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ คน

แผนที่ระบุว่า เมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง ๑๘ องศา ๔๘ ลิปดาเหนือ อยู่ริมฝั่งทางตะวันตกของแม่น้ำ สาขาหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ได้ระบุที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่รอบนอก บริเวณต้นและลุ่มแม่น้ำปิง



 


เมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาไม่มีกำแพงเมือง แต่เมืองเชียงใหม่มีกำแพงเมืองก่ออิฐเหมือนดินแดนตะวันออกทั่วไป ปัจจุบันพังทลายเป็นบางส่วนแล้ว

เมื่อมีข่าวลือว่าจะเกิดสงคราม พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ (พระเจ้ากาวิโรรส ) มีโองการให้ชายฉกรรจ์นำซุงไม้สักไปปักบริเวณกำแพงที่พังทลายเป็นช่องโหว่ เล่ากันว่า ชายคริสเตียนชาวเชียงใหม่สองคน ไม่ปฎิบัติตาม จึงถูกลงอาญาขั้นรุนเเรงจนถึงตาย

เซอร์ โรเบิร์ต ได้เขียนถึงถนนหนทางในเมืองเชียงใหม่อย่างน่าสนใจดังนี้

“ถนนในเมืองเชียงใหม่เป็นเส้นตรง ทางแยกก็ตัดเป็นมุมฉากพอดี ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเมืองใดในสยาม วางผังเมืองดีเท่าเมืองเชียงใหม่มาก่อนเลย"

เมื่อคุณเดินเล่นตามนถนนหนทางเมืองเชียงใหม่ จะเห็นวัดเเละเจดีย์จำนวนมาก ชอมเบอร์กได้บันทึกเรื่องเมืองเชียงใหม่ไว้ดังนี้





"เราแวะไหว้พระ ณ วัดแห่งหนึ่ง ส่วนพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็จารไว้ในใบลาน"

เจดีย์ก่ออิฐ อัดดินข้างใน ข้างนอกฉาบปูน รูปทรงลดหลั่นเป็นชั้นเหมือนพีระมิด เจดีย์ในเมืองเชียงใหม่ส่วนใหญ่พังทลาย ต้นหญ้าขึ้นรกไปหมด

ในเมืองเชียงใหม่ไม่มีเรือนเเพเหมือนกรุงเทพฯ เรือนแต่ละหลังอยู่ห่างกัน จึงมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวเเละดอกไม้นานาชนิด หากมีพื้นที่ไม่พอปลูกผัก ชาวเมืองก็ปลูกดอกไม้เเทน

วัดก่ออิฐถือปูน เเต่เรือนของชาวเมืองสร้างด้วยไม้สัก หรือไม้ไผ่ เรือนไม้ไผ่ของชาวลาวมุงหญ้า ฝาเรือนเป็นไม้ไผ่สาน พื้นปูฟาก ไม่ใช้ตะปู เเต่ใช้ตอกหรือหวายมัดเเทน


“สัก” เป็นไม้มีค่า ดังนั้นเรือนไม้สักต้องเป็นของบุคคลสำคัญเท่านั้น เรือนไม้สักมุงกระเบื้องดินเผา ทั้งยังเเข็งเเรงเเละมั่นคงกว่าเรือนไม้ไผ่ด้วย เรือนทุกหลังยกเสาสูงจากพื้นหลายฟุต เรือนไม้สักมีชานใหญ่ เเต่เรือนไม้ไผ่มีชานขนาดเล็ก

พระเจ้าเชียงใหม่ ทรงสร้างคุ้มหลวงหลังใหม่ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งทรงเห็นมาจากกรุงเทพฯ นั่นเอง คุ้มหลวงของพระองค์จึงงดงาม เเละทันสมัยที่สุดในเมืองเชียงใหม่ทีเดียว

หากเราเดินเข้าประตูเมืองทางทิศตะวันออกในยามเช้า จะเห็นผู้หญิงจำนวนมากมาตลาด ทุกคนเเต่งกายเหมือนกันหมด นุ่งซิ่นตา เส้นผมดำขลับ หวีเรียบ เกล้าเป็นมวยอย่างงดงาม อยู่บริเวณท้ายทอย ไม่ต้องใช้ปิ่นหรือที่รัดผมเลย


เราเห็นผู้ชายในตลาดไม่กี่คน พวกเขาเเต่งกายละม้ายคล้ายชาวสยาม ผู้หญิงหาบกระบุงสานอย่างประณีตสองใบ บางคนนั่งบนเสื่อ วางตะกร้าใส่สินค้าอยู่ข้างหน้า ขณะอีกหลายคนเดินไปมาซื้อของอยู่ในตลาด

ฝั่งขวาของตลาด มีเเม่ค้านั่งเป็นเเถว ในตะกร้าใส่ผัก สำหรับเเลกกับเกลือ อีกฝั่งหนึ่งนั้นขายข้าว ซึ่งต้องการเเลกกับเหรียญเงิน เหรียญเงินมีมูลค่าสูง ส่วนเกลือใช้เเลกซื้อสินค้าราคาถูกทั่วไป

ใกล้กันเป็นเเผงขายดอกไม้ มัดรวมเป็นช่อ ผู้ซื้อจะเอาใบตองห่อช่อดอกไม้อย่างทะนุถนอม พรมน้ำให้สดชื่น เก็บไว้ในที่เย็น ดอกไม้ก็จะสดอยู่จนถึงค่ำ

บ่ายคล้อย พวกผู้หญิงบรรจงเสียบดอกไม้บนมวยผม ส่วนพวกผู้ชายสอดดอกไม้ไว้ในรูหูทั้งสองข้าง (มีต่อ)

สุทธิศักดิ์ ถอดความ
Siam and Laos, as seen by our American missionaries
Presbyterian Church in the U.S.A. Board of Publication
>


 



**************************************************
บริการจัดทัวร์ 
ทัวร์เชียงตุง ทัวร์เมืองยอง ทัวร์สิบสองปันนา ทัวร์คุนหมิงจีน ทัวร์หลวงพระบาง ทัวร์วังเวียงลาว ทัวร์มัณฑเลย์ ทัวร์พุกาม ทัวร์ทะเลสาบอินเล ทัวร์ตองจี ทัวร์รัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ปัจจัยเกี่ยวกับการนำศพไปป่าช้าหรือเรื่องราว วัสดุสิ่งของเกี่ยวกับผียังมีหม้ออีกอย่างหนึ่งที่ผู้คนล้านนาสมัยก่อนได้ใช้นำหน้าขบวนศพไปสู่ป่าช้า ผู้คนเรียกกันว่า หม้อไฟ ก่อนที่จะนำศพไปป่าช้าผู้คนที่มาร่วมงานกุศลศพจะช่วยกันเตรียมหม้อไฟ โดยการไปซื้อหม้อต่อม(หม้อก้นกลม ปากผาย) มาเตรียมไว้เสร็จแล้วนำลวดมาทำสาแหรกเพื่อวางหม้อไฟผูกสาแหรกติดกับปลายคันไม้สำหรับแบก

เปิดประวัติเชียงตุง!! ยลโฉมเจ้าชายรูปงาม "เจ้าจายหลวง"

เรื่องราวของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระแก้วมรกต เคยประดิษฐานที่นครเชียงตุง

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน